องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ จะมีความปลอดภัยได้รับการคุ้มครองให้พ้นจากภัยพิบัติทั้งปวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยที่เกิดจากการโจรกรรม วินาศภัย และอัคคีภัยซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบ หรือมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยที่ดีและถูกต้องตามหลักการและรัดกุมต่อความสูญเสีย และเสียหายต่างๆ ทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินที่จะไม่เกิดขึ้น และเสถียรภาพของแต่ละองค์กรก็จะดีขึ้น ตลอดทั้งความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจของประเทศเราก็จะดีขึ้นด้วย
ดังนั้น บริษัท รักษาความปลอดภัย ซิลเวอร์ เซอร์วิส จำกัด จึงได้เปิดดำเนินงาน รับให้บริการรักษาความปลอดภัยและพ้นจากภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยทาง บริษัท ซิลเวอร์ ซีเคียวริตี้ี เซอร์วิส จำกัด มีคณะทหารและตำรวจ ตลอดจนทั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านรักษาความปลอดภัยเข้ามาร่วมบริหาร และให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งมีนโยบายและวัตถุประสงค์ในการบริหารงานดังนี้ |
 |
1. |
ให้บริการด้านรักษาความปลอดภัยที่มีสมรรถภาพในการทำงาน ด้วยคุณภาพที่เข้มแข็งและมีมาตรฐานในงานเฉพาะด้าน ที่เข้ามาทำงานให้กับหน่วยงานนั้นๆ |
2. |
คัดเลือกฝึกและอบรมพนักงานรักษาความปลอดภัยทุกนาย ให้มีความรู้ความสามารถและปฏิภาณไหวพริบในการปฏิบัติหน้าที่อย่างแท้จริง ทั้งอดทน และระเบียบวินัยที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่และได้รับมอบหมายในหน้าที่ |
3. |
คำนึงถึงประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นสำคัญ |
4. |
มีการประสานงานกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง เพื่อจัดสรร ความก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีเพื่อมาประกอบให้เกิดผลงานที่สูงสุด |
5. |
ให้การควบคุมผลการทำงานทุกขั้นตอน เพื่อความแน่นอนในการปฏิบัติหน้าที่และรวมถึงมีการทำใบงานเพื่อสรุปบรรยายในหน้าที่ของแต่บุคคลได้ทราบวัตถุประสงค์ในแท้จริงในหน้าที่ |
6. |
ให้บริการด้วยอัตราค่าบริการที่ประหยัด คุ้มค่าตามเหมาะสม |
7. |
เป็นหลักประกัน และสร้างความมั่นใจด้านการให้บริการรักษาความปลอดภัยต่อเจ้าขององค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทุกประเภท |
|
|
|
มาตรการรักษาความปลอดภัย |
 |
1. คำจำกัดความ |
มาตรการรักษาความปลอดภัยในที่นี้จะพูดถึงการักษาความปลอดภัยที่เกี่ยวกับสถานที่ เพื่อที่จะได้กำหนดเป็นแนวทางในการักษาความปลอดภัย และประเมินค่าของการรักษาความปลอดภัยที่เกี่ยวกับการดูแลสถานที่ให้อยู่ในการรักษาความปลอดภัยโดยพิจารณาจากการที่ทางห้างหุ้นส่วนฯ ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าทำการสำรวจเพื่อเก็บและรวบรวมข้อมูล พร้อมเสนอแนะเพื่อที่วางมาตรการรักษาความปลอดภัยหรือระเบียบการปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ |
 |
- |
การจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย |
- |
เขตรั้วและการจำกัดช่องทางเข้า-ออก |
- |
การส่งกำลังบำรุงทดแทน |
- |
การให้เครื่องกีดขวางปิดกั้น |
- |
การให้แสงสว่าง |
- |
การกำหนดเขตหวงห้าม |
- |
การควบคุมการเข้า-ออก ของเจ้าหน้าที่ภายใน |
- |
การควบคุมยานพาหนะและการจราจร |
- |
การควบคุมการเข้า-ออก ของบุคคลภายนอก |
- |
การป้องกันอัคคีภัย |
- |
การติดต่อสื่อสาร และระบบสัญญาณแจ้งภัย |
- |
การตรวจตราเป็นประจำ หรือการตรวจสอบตามช่วงระยะเวลา (สายตรวจ) |
|
|
2. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย |
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จัดขึ้นด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อให้การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ดังคำกล่าวที่กล่าวไว้ว่า แม้ว่ามีรั้วกั้นอย่างดี หากไม่ทำการเฝ้าระวังรักษาแล้ว ก็อาจมีผู้เล็ดลอดเข้าไปได้ ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยประกอบด้วยเจ้าหน้าที่เวรควบคุมการรักษาความปลอดภัยประจำวัน หรือยามรักษาการณ์
|
 |
2.1 |
เจ้าหน้าที่ ที่ดูแลรักษาความปลอดภัยประจำวัน หรือหัวหน้าชุดมีหน้าที่คอยกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย รวมถึงรับมอบหมายหน้าที่จากฝ่ายปฏิบัติการของห้างหุ้นส่วนฯ |
2.2 |
พนักงานรักษาความปลอดภัยมีหน้าที่ดูแล ป้องกัน และควบคุมอาณาพื้นที่บริเวณ ทั้งพื้นที่เขตหวงห้ามตลอดจนถึงวัสดุ และสิ่งของอุปกรณ์ทั้งปวง นอกจากนี้ทำการตรวจสอบบุคคล ยานพาหนะ ที่บรรจุสิ่งของต่างๆ ทั้งที่นำเข้ามาและนำออกไปจากอาณาบริเวณสถานที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย อุบัติเหตุ และภัยอันตรายต่างๆ |
|
|
3. กำหนดจำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย |
จะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ |
 |
- |
จุดอ่อนของอาคารสถานที่ต่างๆ ตั้งอยู่ในภูมิประเทศตามธรรมชาติที่เอื้ออำนวยต่อการสูญหาย |
- |
จำนวนช่องทางเข้า-ออก ที่มีมากและสามารถออกสู่บริเวณภายนอกได้ทันที |
- |
ลักษณะของงานและทรัพย์สินที่พึงจะได้รับการพิทักษ์รักษาในความปลอดภัย |
- |
บริเวณเขตหวงห้าม หรือพื้นที่ส่วนตัว |
|
|
4. การสื่อสาร |
ในระบบการรักษาความปลอดภัยการสื่อสารที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพนั้น ย่อมทำให้การปฏิบัติงานสามารถลุล่วงไปได้มากกว่าครึ่ง ฉะนั้นการติดตั้งโทรศัพท์ หรือวิทยุติดต่อสื่อสาร Warlike-Talkie เพื่อการสื่อสารไว้ในพื้นที่อันเหมาะสมในเส้นทางของการรักษาการณ์ พร้อมทั้งได้กำหนดประมวลศัพท์สำหรับใช้ระหว่างกันเพื่อให้การรักษาการณ์ต้องรายงานในเหตุการณ์ได้ทันท่วงทีตามกำหนดเวลา |
|
5. การควบคุมยานพาหนะและบุคคลภายนอก |
โดยมีหลักการปฏิบัติ คือ ห้างหุ้นส่วนฯ มีหน้าที่สำหรับการตรวจสอบยานพาหนะประจำอยู่ ณ ช่องทางเข้า-ออกของอาคารสถานที่โดยสอบถามบุคคลและตรวจเช็คสิ่งของต่างๆ ยานพาหนะ และควบคุมยานพาหนะที่อนุญาตให้ผ่านเข้า-ออกไปในสถานที่โดยใช้เส้นทางตรงไปยังที่อนุญาต
|
 |
การบันทึกหลักฐานยานพาหนะที่ผ่านเข้า-ออก ตามข้อเหล่านี้ |
- |
วันและเวลาที่ยานพาหนะผ่านเข้า-ออก |
- |
ชื่อคนขับ ชื่อผู้โดยสารพร้อมจำนวน |
- |
หมายเลขทะเบียนยานพาหนะ และรายละเอียดอื่นๆ เช่น สีรถ ยี่ห้อรถ หรือบริษัทประกันภัยที่ยานพาหนะทำประกันอยู่ |
- |
ลักษณะและจำนวนสิ่งของที่บรรทุกในยานพาหนะที่นำเข้า-ออก |
|
|
6. การควบคุมบุคคล |
พนักงานทุกคนที่ได้รับการรับรองเข้าไปเป็นพนักงานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำ หรือพนักงานชั่วคราวก็ตามทางแผนกบุคคลจะต้องส่งหลักฐานพร้อมประวัติ และสำเนาการรับรองการเป็นพนักงานทั้งประจำและชั่วคราว เพื่อเป็นการยืนยันว่าได้รับบุคคลดังกล่าว และพร้อมทั้งส่งตัวไปพิมพ์นิ้วมือเพื่อทำบัตรประจำตัวพนักงานต่อไป ส่วนบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับแผนกใดแผนกหนึ่งของหน่วยงาน เช่น ลูกค้า และผู้มาติดต่อจำเป็นต้องเข้าติดต่อกับแผนกรักษาความปลอดภัย หรือ แผนกที่เกี่ยวข้องด้วยเพื่อผู้รับรองในการขอบัตรผ่านเข้า-ออก พร้อมทั้งผู้มาติดต่อแจ้งวัตถุประสงค์ เมื่อหมดสภาพการติดต่อแล้วต้องทวงถามขอบัตรคืน ซึ่งโดยหลักการปฏิบัติมีดังต่อไปนี้
การจัดให้มีบัตรผ่านสำหรับบุคคลภายใน เพื่อใช้ในการแสดงตน หรือคลิบหนีบที่กระเป๋าเสื้อด้านซ้าย และการออกแบบบัตรผ่านควรมีลักษณะมิให้ปลอมแปลงให้ง่าย และการเปลี่ยนรูปแบบตามห้วงระยะเวลาที่เป็นสมควรอย่างน้อยจะต้องมีรายละเอียดแสดงชื่อ รูปถ่าย ส่วนสูง น้ำหนัก ลายมือชื่อถือบัตร และรายชื่อผู้ออกบัตร วัน เดือน ปีที่หมดอายุ หมายเลขบัตร การจัดทำ และการจ่ายบัตรจะต้องควบคุมอย่างเคร่งครัด
จัดให้มีการบันทึกหลักฐาน สำหรับบุคคลภายนอก หรือผู้มาติดต่อ ผู้มาประชุม ผู้มาเยี่ยมเยือนช่างก่อสร้าง
ช่างซ่อมซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดได้แก่ วัน และเวลาผ่านเข้า-ออก ชื่อตำบลที่อยู่ ชื่อสถานที่ทำงาน ชื่อหน่วยงานของผู้มาเยี่ยมเยือน เหตุที่มาเยี่ยมและเวลาที่กลับออกไปโดยจะยึดบัตรประจำตัวประชาชน หรือใบขับขี่รถจักรยานยนต์ ใบขับขี่รถยนต์ โดยออกไปแทนให้และเมื่อเสร็จภารกิจและออกไป ก็ให้นำใบแทนนั้นมาเปลี่ยนบัตรที่ยึดไว้กลับคืน
เมื่อมีการโยกย้าย ลาออก หรือให้ออก ทางแผนกบุคคลจะต้องเป็นผู้เรียกเก็บบัตรคืน พนักงานนั้นๆ แล้วส่งมอบให้กับฝ่ายรักษาความปลอดภัย เพื่อที่ทางแผนกรักษาความปลอดภัยจัดให้ทราบการ ย้ายออก ลาออก หรือ ถูกไล่ออก ของพนักงานบุคคลนั้น
หากบัตรหาย หมดอายุ พนักงานจะต้องแจ้งกับหัวหน้า หรือผู้เกี่ยวข้อง ให้เป็นผู้นำมารับรองต่อแผนกรักษาความปลอดภัย เพื่อการยืนยันการเป็นพนักงานต่อไป
ควรจัดให้มีที่พักผู้มาเยี่ยม หรือผู้มาติดต่อ แยกไว้เป็นต่างหาก ยกเว้นกรณีพิเศษสำหรับบุคคลที่มาติดต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยแท้จริง ทั้งนี้ ผู้รับการเยี่ยมจะต้องรับผิดชอบในตัวผู้มาเยี่ยม สำหรับพาหนะของผู้มาเยี่ยมหรือผู้มาติดต่อ คงให้รอจอดได้ที่บริเวณที่จอดรถที่กำหนดไว้ |
|
7. พื้นที่ที่มีการรักษาความปลอดภัย |
ได้แก่พื้นที่ ที่มีการกำหนดขอบเขตซึ่งมีข้อจำกัด และการควบคุมการเข้า-ออก มีจุดมุ่งหมายที่จะปกป้องพิทักษ์สิ่งที่เป็นความลบของบุคคลสำคัญ |
|
|
คุณสมบัติของพนักงานรักษาความปลอดภัยและการคัดเลือกสรรหาบุคคล |
 |
ทางบริษัท ซิลเวอร์ ซีเคียวริตี้ เซอร์วิส จำกัด ได้จัดหาบุคคลที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมมาเป็นพนักงาน รักษาความปลอดภัย จะต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นดังนี้ |
 |
1. |
ชายไทยหรือหญิงไทย มีอายุระหว่าง 18-45 ปี |
2. |
ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 160 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวไม่น้อยกว่า 50 กิโลกรัม |
3. |
สุขภาพร่างกายสมบูรณ์ที่แข็งแรง ไม่มีโรคติดต่อ หรือไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ |
4. |
ไม่เป็นผู้ที่เคยต้องโทษในคดีอาญาใดๆ มาก่อน |
5. |
เคยเป็น ตำรวจหรือเคยเข้ารับการฝึกอบรม มีประสบการณ์ด้านรักษาความปลอดภัยมาก่อน หรือเคยเป็นอาสาสมัคร |
6. |
วุฒิการศึกษา ไม่ต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาภาคบังคับ หรือเทียบเท่าตั้งแต่ชั้นประถมศึกปีที่หก หรือสูงกว่าซึ่งขึ้นกับความเหมาะสมของแต่ละสถานที่ หรือ ความต้องการของผู้ว่าจ้าง สำหรับกรณีที่มีประสบการณ์มาจะได้รับการพิจารณาในหลักนี้ด้วย |
|
|
การตรวจสอบประวัติ |
ทางบริษัท รักษาความปลอดภัย ซิลเวอร์ เซอร์วิส จำกัด มีการตรวจสอบพนักงานรักษาความปลอดภัยทุกนายก่อนที่จะรับเข้าเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยองห้างหุ้นส่วนฯ ซึ่งต้องได้รับการตรวจสอบประวัติก่อน ดังนี้ |
 |
1. |
ตรวจสอบเกี่ยวกับภูมิลำเนาเดิม สถานที่เกิด วัน เดือน ปี ชื่อบิดา-มารดา ภูมิลำเนาชั่วคราวและถาวร การย้ายที่อยู่ |
2. |
ตรวจสอบประวัติการศึกษา สถานการศึกษาเดิม ความรู้ความสามารถ ไหวพริบ ความประพฤติประสบการณ์และความสามารถพิเศษในด้านการรักษาความปลอดภัย |
3. |
ตรวจสอบประวัติการทำงาน ความคิดริเริ่ม ความซื่อสัตย์ ความประพฤติจากนายจ้างเดิม หรือใบรับรองผลการปฏิบัติหน้าที่การงานจากที่ผ่านมา |
4. |
ส่งประวัติของผู้ที่ได้รับการสรรหาเข้าเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยไปตรวจสอบที่กองทะเบียนประวัติ อาชญากรกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
5. |
การตรวจสอบที่อยู่และสถานภาพทางครอบครัวปัจจุบัน เช่น ที่พักอาศัย บุตร-ภรรยา บิดา-มารดา โดยให้ทำแผนที่ที่อยู่ปัจจุบัน ลงแบบฟอร์มในใบสมัคร เพราะทางบริษัท ซิลเวอร์ ซีเคียวริตี้ เซอร์วิส จำกัด ตระหนักดีว่าถ้าหากบุคลากรที่ดีและมีคุณภาพย่อมตระหนักถึงความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง และนั่นก็คือหัวใจสำคัญของการเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของเรา |
|
|
|
เครื่องแบบ อุปกรณ์
สวัสดิการ |
 |
บริษัท รักษาความปลอดภัย ซิลเวอร์ เซอร์วิส จำกัด เป็นผู้จัดหาเครื่องแบบ และอุปกรณ์ในด้านการรักษาความปลอดภัยให้แก่พนักงานรักษาความปลอดภัยทุกนายที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ ในการรักษาความปลอดภัยของแต่ละสถานที่ สำหรับทางด้านสวัสดิการ ห้างหุ้นส่วนฯ ได้จัดให้มีตามพระราชบัญญัติแรงงานทุกประการ โดยไม่ให้เป็นภาระที่ยุ่งยากแก่ ผู้ว่าจ้าง แต่อย่างใด |
|
|
การปฐมนิเทศ |
 |
พนักงานรักษาความปลอดภัยทุกนายของบริษัท รักษาความปลอดภัย ซิลเวอร์ เซอร์วิส จำกัด ก่อนที่จะออกปฏิบัติหน้าที่จะต้องได้รับการปฐมนิเทศจากผู้จัดการ และหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการก่อน ดังนี้ |
 |
1. |
ลักษณะการปฏิบัติงานในหน่วยงานต่างๆ สถานที่แผนที่ตั้ง อาณาเขตติดต่อ และชนิดประเภทของงานที่ต้องรับผิดชอบ |
2. |
การควบคุมเขตรับผิดชอบเวลาที่เข้าทำการ เวลาหยุดทำการ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับบริหารของสถานที่นั้นๆ |
3. |
การสังเกตกับบุคคลภายนอก การปฏิบัติเกี่ยวกับ มีผู้บุกรุกเข้ามาในสถานที่ |
4. |
การควบคุมแก้ไขหน้าที่ภารกิจเฉพาะ รวมถึงการระงับเหตุตามหน้าที่ตามความเหมาะสมของพนักงานรักษาความปลอดภัย รายงานผลอื่นๆ |
5. |
การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ถังดับเพลิงชนิดต่างๆ ถุงดับเพลิง อาวุธประจำกาย เป็นต้น |
6. |
มารยาทในการใช้คำพูดและการแนะนำ รวมถึงการรับโทรศัพท์ การติดต่อโทรศัพท์กับบุคคลภายนอกสถานที่ |
7. |
การแสดงความเคารพอันแสดงออกถึงการให้เกียรติอย่างหนึ่ง การยิ้มแย้มแจ่มใสในขณะปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับบุคคลที่มาติดต่อใน หน่วยงาน |
8. |
การให้ความช่วยเหลืออันเป็นวิสัยของสุภาพบุรุษ และในฐานะที่เราเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยอันเป็นหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือและบริการในทุกๆ เรื่องเท่าที่สามารถจะกระทำได้และต้องกระทำได้โดยไม่คิดหวังผลประโยชน์แทน |
|
|
|
การดำเนินการฝึกอบรมก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ |
 |
พนักงานรักษาความปลอดภัยทุกนายก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ จะต้องผ่านการอบรมจากเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ก่อนคือ ฝ่ายบุคคลและฝ่ายปฏิบัติการ พร้อมทั้งครูฝึก เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้ |
 |
1. |
อบรมระเบียบเกี่ยวกับการเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยและ ระเบียบทั่วไป คุณสมบัติของผู้ดีและลักษณะของการเป็นผู้นำที่ดี |
2. |
อบรมจิตวิทยาเบื้องต้น ในการปฏิบัติงานและการสอบสวนเบื้องต้น |
3. |
อบรมการต่อสู้ป้องกันด้วยมือเปล่า การใช้อาวุธ การจับกุมผู้กระทำผิดซึ่งหน้า |
4. |
อบรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย การใช้เครื่องป้องกันอัคคีภัยและการบรรเทาสาธารณภัยรวมทั้งการใช้สัญญาณแจ้งเหตุ |
5. |
อบรมการคุ้มครองทรัพย์สินในที่ตั้ง และขณะเคลื่อนที่ |
6. |
อบรมรายงานผลและอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมพนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นกรณีพิเศษ นอกเหนือจากที่กล่าวมา ข้างต้น หากเป็นความประสงค์ของผู้ว่าจ้าง |
7. |
อบรมการให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจรเบื้องต้น |
8. |
อบรมทบทวนการปฏิบัติหน้าที่ทุก 15 วัน ทั้งพนักงานรักษาความปลอดภัย และหัวหน้าชุด ปฏิบัติการ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย |
9. |
การปฐมพยาบาล และการลำเรียงผู้เจ็บป่วย |
10. |
วิธีการรายงานเหตุการณ์ประจำวัน |
|
|
|
การจัดพนักงานรักษาความปลอดภัยเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ |
 |
บริษัท ซิลเวอร์ ซีเคียวริตี้ เซอร์วิส จำกัด จัดพนักงานรักษาความปลอดภัยเสริมพิเศษให้แก่ท่านตลอด 24 ชั่วโมง หรือจัดให้ตามความประสงค์ของท่าน โดยกำหนดตัวบุคคลเข้าปฏิบัติหน้าที่แต่ละชุดแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน โดยคัดเลือกตัวบุคคลที่ผ่านการอบรมแล้วไม่น้อยกว่า 20 วัน หรือ 160 ชั่วโมง เพื่อแนะนำการปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละจุด ซึ่งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบแตกต่างกันไปทางบริษัท ได้จัดให้มีการตรวจตราและการติดตามผลการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย โดยจัดสายตรวจ 24 ชั่วโมง ทั้งทหาร และตำรวจมาปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาราชการ โดยจัดกำหนดตรวจหน้าที่ในแต่ละหน่วยงานอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง รวมทั้งมีหน่วยเคลื่อนที่เร็วเพื่อคอยแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ทันเหตุการณ์ |
|
สิ่งที่ท่านจะได้รับเมื่อเรียกใช้บริการของบริษัท รักษาความปลอดภัย ซิลเวอร์ เซอร์วิส จำกัด |
 |
1. |
เมื่อทรัพย์สินของท่านสูญหาย ท่านจะได้รับการชดใช้คืนตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง |
2. |
ช่วยลดต้นทุนในค่าใช้จ่ายของท่านสำหรับการจ้างพนักงานเป็นลูกจ้างของท่านเอง ซึ่งท่านต้องจ่ายค่าอาหาร ค่าเครื่องแบบ ค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ค่าชดเชย และสวัสดิการอื่นๆ |
3. |
ท่านจะได้รับความอบอุ่นจากการที่ห้างหุ้นส่วนฯ จัดให้มีสายตรวจ ตำรวจ ทหาร เข้ามาตรวจตราดูแลความเรียบร้อยและกวดขันการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัยในหน่วยงานของท่านตลอด 24 ชั่วโมง |
4. |
การควบคุมการปฏิบัติหน้าที่โดยคณะ นายตำรวจ และผู้ชำนาญด้านการรักษาความปลอดภัยโดยตรง |
5. |
ห้างหุ้นส่วนฯ มีหน่วยเคลื่อนที่เร็วคอยแก้ปัญหาให้กับท่านตลอด 24 ชั่วโมง |
6. |
พนักงานรักษาความปลอดภัยของห้างหุ้นส่วนฯ ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลาการปฏิบัติหน้าที่ |
7. |
มีการอบรมและฝึกฝนทบทวนพนักงานรักษาความปลอดภัย ที่ส่งไปประจำตามหน่วยงานเป็นประจำเสมอเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานในหน่วยงานของท่าน |
8. |
พนักงานรักษาความปลอดภัย ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โดยที่ทางห้างหุ้นส่วนฯ ได้ฝึกอบรมและคัดเลือกแล้วเป็นอย่างดี |
9. |
หากพนักงานรักษาความปลอดภัยคนใดในหน่วยงาน หย่อนสมรถภาพในการทำงานไม่ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายตามวัตถุของหน่วยงานที่ประจำอยู่ ทางห้างหุ้นส่วนฯ มีเจ้าหน้าที่ในเพื่อควบคุม แนะนำอบรมพร้อมติดตามผลการปฏิบัติงาน จนถึงการลงโทษเพื่อมิให้เกิดผลเสียกับหน่วยงานของท่าน |
10. |
ท่านจะได้รับอัตราค่าบริการที่ประหยัดและคุ้มค่า ซึ่งทรัพย์สินของท่านจะได้รับการดูแลจากพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัท เราเป็นอย่างดี |
11.
|
การว่าจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัท ซิลเวอร์ ซีเคียวริตี้ เซอร์วิส จำกัด ย่อมได้รับผลประโยชน์สูงสุด ซึ่งดีกว่าที่ท่านว่าจ้างพนักงานของท่านเองโดยตรง ดังนี้ |
|
 |
- |
การป้องกันทรัพย์สินสูญหาย ซึ่งเกิดจากพนักงานของท่านเป็นผู้กระทำเอง |
- |
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาอันจะเกิดขึ้นได้ กับพนักงานของท่าน อันจะนำไปสู่การก่อรวมตัวสไตล์ซึ่งจะนำความเสียหายทั้งชื่อเสียงมาสู่องค์กร |
- |
เพื่อเป็นการป้องกันสมรู้ร่วมคิด ระหว่างพนักงานรักษาความปลอดภัยของท่านกับพนักงานเองหน่วยงาน |
- |
อย่างไรก็ตามทางห้างหุ้นส่วนฯ ของเราได้มีกฎระเบียบข้อบังคับห้ามพนักงานรักษาความปลอดภัยทำสนิทสนม อันนำไปสู่ความเกรงอกเกรงใจกับพนักงานของท่านในปฏิบัติงาน |
|
12. |
ภาระเกี่ยวกับค่าครองชีพ สวัสดิการ เงินเดือน ของพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัท ซิลเวอร์ ซีเคียวริตี้ เซอร์วิส จำกัด ได้จัดให้ตามพระราชบัญญัติแรงงานทุกประการ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือ วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติหน้าที่อันเกี่ยวเนื่องกับงานรักษาความปลอดภัย โดยไม่ให้เป็นภาระอันยุ่งยากแก่ท่านแต่ประการใดเลย |
|
|
วิธีการชำระค่าบริการ |
 |
1. |
ห้างหุ้นส่วนฯ จะจัดส่งเอกสารการเรียกเก็บค่าบริการ ทุกๆ สิ้นเดือน |
2. |
การชำระด้วยเงินสด ไม่เกินวันที่ 3 ของเดือนถัดไป |
3. |
การชำระเงินด้วยเช็ค ขอให้จ่ายในนามของห้างหุ้นส่วนฯ และขีดฆ่า ผู้ถือทิ้ง |
|
|
การบริการพิเศษเพิ่มเติม |
นอกจากนี้ทางห้างหุ้นส่วนฯ ได้จัดบริการด้านอื่น อีกดังนี้ |
 |
1. |
การสืบสวนติดตามบุคคล |
2. |
การคุ้มครองบ้าน สถานที่ ในกรณีเจ้าของสถานที่ไม่อยู่หรือไปต่างประเทศ บุคคลในระยะสั้น |
3. |
รับคุ้มครองการเบิกเงินจากธนาคาร |
4. |
สืบสวนข้อมูลเพื่อดำเนินการถึงขั้นศาล |
5. |
นอกจากนี้ยังมีทนายความประจำ ห้างหุ้นส่วนฯ พร้อมที่จะให้คำแนะนำด้านกฎหมาย การฟ้องร้อง การแก้ต่างร่วมปรึกษาอรรถคดีทั่วๆ ไป |
|
|
|